บล็อกกระผม

ยินดีต้อนรับและขอบพระคุณทุกท่านที่มาเข้าชม

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทความเรื่องความรู้รักสามัคคี



ความสามัคคี
ความสามัคคีคือพลังสร้างชาติ วันนี้ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532 แสดงให้เห็นว่าความสามัคคีเป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญในการสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้ประเทศชาติ ดังนี้

"...ความ สามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความ รักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้องสอง ประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..."










พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายคำว่า “ความสามัคคี” ว่า“สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางกันและกัน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานความหมายคำว่า“สามัคคี” ที่ลึกซึ้งกว่า ว่า “…ความ สามัคคีควรจะมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นอีกด้วย เช่น ควรจะหมายถึงความพร้อมเพรียงของทุกฝ่ายทุกคนที่มีความสำนึกแน่ชัดในความรับ ผิดชอบที่จะพึงใช้ความรู้ความคิด ความสามารถ ตลอดจนคุณสมบัติทุก ๆ ประการของตน ให้ประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน และให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารและที่เป็นประโยชน์เป็นความเจริญต่อ ส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์...” จากความหมายดัง กล่าว จึงสรุปได้ว่า ความสามัคคีเป็นความพร้อมเพรียงกันของทุกฝ่ายทุกคนในความรับผิดชอบ ที่จะพึง ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถ ตลอดจนคุณสมบัติทุก ๆ ประการของตน ให้ประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน และให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารและที่เป็นประโยชน์เป็นความเจริญต่อ ส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์การที่จะเกิดความสามัคคีได้ในการกระทำต้องเริ่มจาก จิตใจ ถ้าทุกคนมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ประเทศชาติย่อมคลาดแคล้วจากภัยของศัตรู และตั้งมั่นมีความสุขสมบูรณ์อยู่ได้ หากขาดความสามัคคี ไม่รักใคร่ไว้วางใจกัน ปราศจากความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันการดำเนินงานย่อมจะไม่สำเร็จพื้น ฐานที่สำคัญที่สุดของการจรรโลงความสามัคคีกลมเกลียวกันให้บังเกิดขึ้นในจิต ใจของคนไทยทุกคนเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินและดำรงแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่นตลอด ไป คือ การรู้จักหน้าที่ของตนเอง ในหมู่สมาชิกของสังคม และประเทศนั้น ๆ กล่าวคือ ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ ทันเวลา โดยเต็มกำลัง ความรู้ ความสามารถ และโดยบริสุทธิ์จริงใจ ก่อให้เกิดสันติสุขทั้งจุดย่อย ๆ คือ ชีวิต และจุดใหญ่ที่เริ่มจากคนสองคนขึ้นไป เช่น การครองเรือนของสามี ภรรยา เป็นต้น การที่สามีภรรยาจะรักและอยู่ครองเรือน ครองสุขกันได้ตลอดกาลนานนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความสำนึกถึงหน้าที่ของตน และทำหน้าที่ของตนให้ดี ผลของการทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายด้วยดีเช่นนี้ ความสุข ความสงบภายในครอบครัวก็จะเกิดขึ้น จากครอบครัวก็กระจายออกไปถึงสังคม ชาติอันเป็นส่วนรวม ตราบใดที่คนในชาติตระหนักถึงหน้าที่ของตนและเคารพหน้าที่ของคนอื่นต่างคน ต่างพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดี ตามสมควรแก่ฐานะของตน ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในชาติแผ่นดินมีความมั่นคง ความสงบสุข ซึ่งก็เป็นการทำความดีเพื่อแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ อานิสงส์ ของความสามัคคีนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ เป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจการงานต่าง ๆ การงานอันเกินกำลังที่คนคนเดียวจะทำได้ เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน กิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง ปลวกเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆแต่ในความเล็กนั้น ปลวกกลับสามารถสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็ก ๆ ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อ
หน้าที่อยู่ตลอดเวลา ความสามัคคีเป็นกำลังของความสำเร็จ ดังเพลงสามัคคีชุมนุมว่า"อันความกลมเกลียว กันเป็นใจเดียวประเสริฐศรีทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี”เพราะ ฉะนั้นการรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง ช่วยให้งานที่ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรหรือที่งานที่หนักยิ่งกว่าเข็นครก ขึ้นภูเขาก็สามารถสำเร็จลงได้ดังนั้น หมู่คณะใดที่มีความพร้อมเพรียงไม่หวาดระแวงกันและกัน หมู่คณะนั้นย่อมประสบแต่ความสุขความเจริญ ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ อย่าว่าแต่มวลหมู่มนุษย์เลย แม้แต่สัตว์ทั้งหลายก็เช่นกัน หรือแม้แต่กิ่งไม้ที่มัดเป็นกำ ย่อมใช้กำลังหักได้ยากความพร้อมเพรียงของหมู่คณะเกิดขึ้นได้จากการที่สมาชิก ในกลุ่มมีความรักใคร่สามัคคีกัน มีความคิดเห็นเหมือนกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตัวเอง มีความอดทนขยันหมั่นเพียร เสียสละ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะอภัยให้ผู้อื่น เมื่อทำได้ดังนี้ความสุขย่อมเกิดขึ้น ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า“สุขา สงฺฆสฺสะ สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำความสุขมาให้”
หากทุกคนชาวไทยยินดีที่จะประสานผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในชาติ เพื่อให้ชาติเป็นปึกแผ่น มั่นคง “ความสามัคคี” เป็น แนวทางปฏิบัติที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจ ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์ วันที่ 3 ธันวาคม2505 ว่า
"...คราว ใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความ เจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้อง ประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ จึงเป็นหน้าที่ของ เราทั้งหลาย ที่จะต้องร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ ให้ดีที่สุด.

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในครอบครัว


หน้าที่ของครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสถาบันแรกที่สามารถหล่อหลอมและพัฒนาบุคคลต่างๆในครอบครัวให้เป็นบุคคลอันพึงประสงค์ของสังคม ซึ่งมีหน้าที่คือ
หน้าที่สร้างสรรค์สมาชิก ครอบครัวมีหน้าที่สร้างสมาชิกใหม่ขึ้นทดแทนษมาชิกเดิมที่จากไป เพื่อสืบวงศ์ตระกูลต่อไป แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนความสมดุลกับสังคมถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เกดปัญหาสังคมตามมา
หน้าที่อบรมสั่งสอนระเบียบของสังคม ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีหน้าที่และบทบาทในการอบรมสั่งสอนที่สำคัญที่สุด โดยมุ่งเน้นให้รู้จักค่านิยมพื้นฐานทางวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และการปรับตัวเข้ากับสังคม
หน้าที่ให้ความรักและความอบอุ่น ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นและกำลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคมได้

หน้าที่กำหนดสถานภาพ เมื่ออยู่ในครอบครัว สมาชิกทุกคนจะมีสถานภาพที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกำเนิด เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และสถานะในครอบครัวรวมถึงในวงสังคม
หน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือเลี้ยงดูผู้เยาว์ ครอบครัวจะทำหน้าที่ดูแลปกป้องและพัฒนาสมาชิกที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และให้การศึกษา
หน้าที่ทางเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวทุกคนถือเป็นหน่วยการผลิตที่สำคัญ ทุกคนจะต้องทำงานและแบ่งผลผลิตซึ่งกันและกัน เช่น พ่อแม่จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงลูกในวันเด็ก แต่พอในวัยหนุ่มสาวลูกก็จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่
หน้าที่ทางการศึกษา ครอบครัวเป็นแหล่งการศึกษาแห่งแรกของสมาชิก แต่เมื่อถึงวัยต้องรับการศึกษาในโรงเรียน ครอบครัวก็มีหน้าที่ต้องส่งสมาชิกเข้าเล่าเรียนศึกษา โดยต้องให้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษา เพื่อให้มีความรู้เพื่อที่สามารถจะประกอบอาชีพได้ในอนาคต
หน้าที่ทางศาสนา ครอบครัวต้องมีหน้าที่ในการปลูกฝังให้เลื่อมใสในศาสนาประจำชาติ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของศาสนา เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม



เรียนรู้เรื่องยาเสพติด



ความหมายของยาเสพติด
ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง



ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ประเภทของยาเสพติดยาเสพติด



แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น
๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ
๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท
๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน
๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย
๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา
๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ
๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน
๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้
๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน
๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา
๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา
๔.๗ ประเภทใบกระท่อม
๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด
๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่


วิธีการเสพยาเสพติด

กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
๑. สอดใต้หนังตา ๒. สูบ ๓. ดม ๔. รับประทานเข้าไป๕. อมไว้ใต้ลิ้น ๖. ฉีดเข้าเหงือก ๗. ฉีดเข้าเส้นเลือด ๘. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ๙. เหน็บทางทวารหนัก

ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย ได้แก่
๑. ยาบ้า ๒. ยาอี ยาเลิฟ หรือ เอ็กซ์ตาซี ๓. ยาเค ๔. โคเคน๕. เฮโรอีน ๖. กัญชา ๗. สารระเหย ๘. แอลเอสดี ๙. ฝิ่น ๑๐. มอร์ฟีน ๑๑. กระท่อม ๑๒. เห็ดขี้ควาย


สาเหตุของการติดยาเสพติด มีหลายประการ ดังนี้คือ
๑. อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยคิดว่า "ไม่ติด" แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
๒. ถูกเพื่อนชักชวน ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
๓. ถูกหลอกลวง โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
๔. ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
๕. เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
๖. ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด


วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด


จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
๑. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
๑.๑ สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
๑.๒ ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
๑.๓ ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
๑.๔ ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
๑.๕ มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
๑.๖ ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
๒. การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
๒.๑ เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
๒.๒ ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
๒.๓ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
๒.๔ พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
๒.๕ ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
๒.๖ ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ๒.๔ ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย๒.๕ พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว๒.๖ มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
๒.๗ ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
๒.๘ ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา
๒.๙ ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย
๒.๑๐ มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
๓. การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
๓.๑ น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
๓.๒ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
๓.๓ ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
๓.๔ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
๓.๕ ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
๓.๖ มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง๓.๗ เป็นตะคริว
๓.๘ นอนไม่หลับ
๓.๙ เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้


โทษของสารเสพติด

โทษภัยต่อครอบครัว
• ทำลายความสุขในบ้าน ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของสมาชิกในครอบครัว เป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ตามมาจนอาจทวีความรุนแรงให้ครอบครัวแตกแยก
• สูญเสียรายได้ของครอบครัว เนื่องจากมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากการซื้อ ยาเสพติด หรือบำบัดรักษาผู้ที่ติดยาเสพติด
• พ่อแม่ ผู้ปกครอง ขาดที่พึ่งในยามเจ็บป่วยหรือชราภาพ
• ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล และเป็นที่รังเกียจของสังคม
• ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เพราะคนในครอบครัวที่มีปัญหายาเสพติด มักจะก่ออาชญากรรม



โทษภัยต่อชุมชนและสังคม
• ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน
• เป็นบ่อเกิดให้ชุมชนเสื่อมโทรม สังคมถูกทำลาย
• ทำลายเยาวชน อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนและสังคม
• ทำให้การพัฒนาชุมชน และสังคมในด้านต่าง ๆเป็นไปอย่างเชื่องช้า
• สูญเสียรายได้ของชุมชนและสังคม
• ทรัพย์สินของคนในชุมชนและสังคมเสียหาย เนื่องจากพฤติกรรมทางจิตประสาท
• ก่อให้เกิดปัญหาอุบัติเหตุเนื่องจากฤทธิ์ของยา
• ก่อให้เกิดปัญหาโรคเอดส์
โทษภัยต่อประเทศชาติ
• บ่อนทำลายเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศชาติ
• รัฐบาลต้องสูญเสียกำลังเจ้าหน้าที่และค่าใช้จ่ายในการป้องกันปราบปรามและรักษาผู้ติดยาเสพติดจำนวนมาก
• สูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสำหรับการพัฒนาประเทศ
• เพิ่มภาระการเสียภาษีของประชาชน เพราะรัฐบาลต้องนำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
• การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้า• สูญเสียแรงงานในการปฏิบัติงานทำให้ประเทศขาดรายได้
• ประเทศชาติต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิ ในสายตาของชาวต่างประเทศ
• อาจทำให้เกิดข้อขัดแย้งทางการเมืองหรือความไม่สงบระหว่างประเทศ
• ผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อชาติอาจใช้ยาเสพติดเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายความมั่นคง
• ประเทศชาติพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า