บล็อกกระผม

ยินดีต้อนรับและขอบพระคุณทุกท่านที่มาเข้าชม

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทความเรื่องความรู้รักสามัคคี



ความสามัคคี
ความสามัคคีคือพลังสร้างชาติ วันนี้ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532 แสดงให้เห็นว่าความสามัคคีเป็นจริยธรรมที่มีความสำคัญในการสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้ประเทศชาติ ดังนี้

"...ความ สามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียว กับความ รักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้องสอง ประการนี้ คือ คุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้านเมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคงมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน..."










พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายคำว่า “ความสามัคคี” ว่า“สามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความกลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง วิวาทบาดหมางกันและกัน” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานความหมายคำว่า“สามัคคี” ที่ลึกซึ้งกว่า ว่า “…ความ สามัคคีควรจะมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้นอีกด้วย เช่น ควรจะหมายถึงความพร้อมเพรียงของทุกฝ่ายทุกคนที่มีความสำนึกแน่ชัดในความรับ ผิดชอบที่จะพึงใช้ความรู้ความคิด ความสามารถ ตลอดจนคุณสมบัติทุก ๆ ประการของตน ให้ประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน และให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารและที่เป็นประโยชน์เป็นความเจริญต่อ ส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์...” จากความหมายดัง กล่าว จึงสรุปได้ว่า ความสามัคคีเป็นความพร้อมเพรียงกันของทุกฝ่ายทุกคนในความรับผิดชอบ ที่จะพึง ใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถ ตลอดจนคุณสมบัติทุก ๆ ประการของตน ให้ประกอบพร้อมเข้าด้วยกัน และให้เกื้อกูลส่งเสริมกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารและที่เป็นประโยชน์เป็นความเจริญต่อ ส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์การที่จะเกิดความสามัคคีได้ในการกระทำต้องเริ่มจาก จิตใจ ถ้าทุกคนมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันแล้ว ประเทศชาติย่อมคลาดแคล้วจากภัยของศัตรู และตั้งมั่นมีความสุขสมบูรณ์อยู่ได้ หากขาดความสามัคคี ไม่รักใคร่ไว้วางใจกัน ปราศจากความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันการดำเนินงานย่อมจะไม่สำเร็จพื้น ฐานที่สำคัญที่สุดของการจรรโลงความสามัคคีกลมเกลียวกันให้บังเกิดขึ้นในจิต ใจของคนไทยทุกคนเพื่อตอบแทนคุณแผ่นดินและดำรงแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่นตลอด ไป คือ การรู้จักหน้าที่ของตนเอง ในหมู่สมาชิกของสังคม และประเทศนั้น ๆ กล่าวคือ ผู้ใดมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วงไปให้ทันการณ์ ทันเวลา โดยเต็มกำลัง ความรู้ ความสามารถ และโดยบริสุทธิ์จริงใจ ก่อให้เกิดสันติสุขทั้งจุดย่อย ๆ คือ ชีวิต และจุดใหญ่ที่เริ่มจากคนสองคนขึ้นไป เช่น การครองเรือนของสามี ภรรยา เป็นต้น การที่สามีภรรยาจะรักและอยู่ครองเรือน ครองสุขกันได้ตลอดกาลนานนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความสำนึกถึงหน้าที่ของตน และทำหน้าที่ของตนให้ดี ผลของการทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายด้วยดีเช่นนี้ ความสุข ความสงบภายในครอบครัวก็จะเกิดขึ้น จากครอบครัวก็กระจายออกไปถึงสังคม ชาติอันเป็นส่วนรวม ตราบใดที่คนในชาติตระหนักถึงหน้าที่ของตนและเคารพหน้าที่ของคนอื่นต่างคน ต่างพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดี ตามสมควรแก่ฐานะของตน ความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในชาติแผ่นดินมีความมั่นคง ความสงบสุข ซึ่งก็เป็นการทำความดีเพื่อแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ อานิสงส์ ของความสามัคคีนี้ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ความเจริญ เป็นเหตุแห่งความสำเร็จในกิจการงานต่าง ๆ การงานอันเกินกำลังที่คนคนเดียวจะทำได้ เช่น การก่อสร้างบ้านเรือน กิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ต้องอาศัยความสามัคคีเป็นที่ตั้ง ปลวกเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆแต่ในความเล็กนั้น ปลวกกลับสามารถสร้างจอมปลวกอันเข้มแข็งใหญ่โตเท่าภูเขาลูกเล็ก ๆ ก็เพราะปลวกเป็นสัตว์ที่รู้จักช่วยเหลือกัน รู้จักความสามัคคี ทำงานกันเป็นทีม และมีความรู้สึกรับผิดชอบต่อ
หน้าที่อยู่ตลอดเวลา ความสามัคคีเป็นกำลังของความสำเร็จ ดังเพลงสามัคคีชุมนุมว่า"อันความกลมเกลียว กันเป็นใจเดียวประเสริฐศรีทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี”เพราะ ฉะนั้นการรวมใจสามัคคีกันจึงเกิดมีพลัง ช่วยให้งานที่ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรหรือที่งานที่หนักยิ่งกว่าเข็นครก ขึ้นภูเขาก็สามารถสำเร็จลงได้ดังนั้น หมู่คณะใดที่มีความพร้อมเพรียงไม่หวาดระแวงกันและกัน หมู่คณะนั้นย่อมประสบแต่ความสุขความเจริญ ไม่มีใครสามารถเอาชนะได้ อย่าว่าแต่มวลหมู่มนุษย์เลย แม้แต่สัตว์ทั้งหลายก็เช่นกัน หรือแม้แต่กิ่งไม้ที่มัดเป็นกำ ย่อมใช้กำลังหักได้ยากความพร้อมเพรียงของหมู่คณะเกิดขึ้นได้จากการที่สมาชิก ในกลุ่มมีความรักใคร่สามัคคีกัน มีความคิดเห็นเหมือนกัน เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ตัวเอง มีความอดทนขยันหมั่นเพียร เสียสละ ไม่เอาเปรียบซึ่งกันและกัน และพร้อมที่จะอภัยให้ผู้อื่น เมื่อทำได้ดังนี้ความสุขย่อมเกิดขึ้น ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า“สุขา สงฺฆสฺสะ สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำความสุขมาให้”
หากทุกคนชาวไทยยินดีที่จะประสานผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความสามัคคีขึ้นในชาติ เพื่อให้ชาติเป็นปึกแผ่น มั่นคง “ความสามัคคี” เป็น แนวทางปฏิบัติที่ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจ ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์ วันที่ 3 ธันวาคม2505 ว่า
"...คราว ใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่ง ใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความ เจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้อง ประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ จึงเป็นหน้าที่ของ เราทั้งหลาย ที่จะต้องร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ ให้ดีที่สุด.

บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลในครอบครัว


หน้าที่ของครอบครัว
ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสถาบันแรกที่สามารถหล่อหลอมและพัฒนาบุคคลต่างๆในครอบครัวให้เป็นบุคคลอันพึงประสงค์ของสังคม ซึ่งมีหน้าที่คือ
หน้าที่สร้างสรรค์สมาชิก ครอบครัวมีหน้าที่สร้างสมาชิกใหม่ขึ้นทดแทนษมาชิกเดิมที่จากไป เพื่อสืบวงศ์ตระกูลต่อไป แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนความสมดุลกับสังคมถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เกดปัญหาสังคมตามมา
หน้าที่อบรมสั่งสอนระเบียบของสังคม ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีหน้าที่และบทบาทในการอบรมสั่งสอนที่สำคัญที่สุด โดยมุ่งเน้นให้รู้จักค่านิยมพื้นฐานทางวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และการปรับตัวเข้ากับสังคม
หน้าที่ให้ความรักและความอบอุ่น ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นและกำลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคมได้

หน้าที่กำหนดสถานภาพ เมื่ออยู่ในครอบครัว สมาชิกทุกคนจะมีสถานภาพที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกำเนิด เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และสถานะในครอบครัวรวมถึงในวงสังคม
หน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือเลี้ยงดูผู้เยาว์ ครอบครัวจะทำหน้าที่ดูแลปกป้องและพัฒนาสมาชิกที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และให้การศึกษา
หน้าที่ทางเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวทุกคนถือเป็นหน่วยการผลิตที่สำคัญ ทุกคนจะต้องทำงานและแบ่งผลผลิตซึ่งกันและกัน เช่น พ่อแม่จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงลูกในวันเด็ก แต่พอในวัยหนุ่มสาวลูกก็จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่
หน้าที่ทางการศึกษา ครอบครัวเป็นแหล่งการศึกษาแห่งแรกของสมาชิก แต่เมื่อถึงวัยต้องรับการศึกษาในโรงเรียน ครอบครัวก็มีหน้าที่ต้องส่งสมาชิกเข้าเล่าเรียนศึกษา โดยต้องให้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษา เพื่อให้มีความรู้เพื่อที่สามารถจะประกอบอาชีพได้ในอนาคต
หน้าที่ทางศาสนา ครอบครัวต้องมีหน้าที่ในการปลูกฝังให้เลื่อมใสในศาสนาประจำชาติ และส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของศาสนา เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม